เนื้อหาของ Bitcatcha สนับสนุนโดยผู้อ่าน เมื่อคุณซื้อผ่านลิงก์บนเว็บไซต์ของเรา เราอาจได้รับค่าคอมมิชชั่นจากการเป็นพันธมิตร เรียนรู้เพิ่มเติม

5 สุดยอดเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซโฮสติ้งในปี 2024 (ทดสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์แล้ว)

การเลือกโฮสต์ที่ ‘ใช่’ สำหรับเว็บไซต์ก็ยากพอตัวอยู่แล้ว ยิ่งเป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซอีกต่างหาก!

ทำไมน่ะหรือ ก็เพราะการมีร้านค้าออนไลน์ที่ไว้ใจได้ น่าเชื่อถือ และลูกค้าสามารถโหลดเว็บได้อย่างรวดเร็วนั้นเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับโฮสต์ทั้งสิ้น

เจ้าของเว็บไซต์หลายรายพุ่งตรงเข้าไปหา โฮสต์ราคาถูกค่ายแรก ที่พวกเขาค้นเจอ แต่กว่าที่พวกเขาจะรู้ตัวว่านั่นอาจจะเป็นการตัดสินใจที่ผิดพลาด พวกเขาก็ต้องปวดขมับกับการที่จะต้องย้ายเว็บไซต์ทั้งเว็บเสียแล้ว

ดังนั้น วันนี้เราจะพูดคุยกันเกี่ยวกับเหตุผลที่ว่าทำไมการหาโฮสต์ที่ ‘ใช่’ จึงเป็นเรื่องสำคัญ และอะไร ที่เรียกว่าสำคัญ พร้อมตัวเลือกโฮสต์ที่ดีที่สุดสำหรับอีคอมเมิร์ซ พร้อมหรือยัง ไปกันเลย

5 อีคอมเมิร์ซโฮสติ้งที่ดีที่สุด


  1. Hostinger
  2. SiteGround
  1. Kinsta
  2. A2 Hosting
  3. Cloudways

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ เราได้เลือกโฮสต์ 5 ค่ายที่เราคิดว่ามีคุณสมบัติเลิศตามหกหลักข้างต้น

ทว่า แต่ละค่ายก็มีจุดแข็งและจุดขายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของใครของมัน มาดูกันให้ลึกลงไปอีกว่า โฮสต์เหล่านี้มีอะไรเจ๋ง ๆ บ้าง

hostinger vps hosting th

Hostinger เข้ามาอยู่ในรายชื่อ ‘โฮสต์อีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุด’ ของเราได้สองสามปีติดต่อกัน ในตอนแรกพวกเขาได้รับความสนใจจากแผนที่มีราคาที่ไม่แพง แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้พวกเขาก็โดดเด่นเหนือคู่แข่งในด้านอื่นๆด้วย

อันที่จริงแล้วเมื่อเร็วๆนี้เราได้ทำการวิจัยแบรนด์และพบว่า Hostinger เป็นเว็บโฮสต์ที่เป็นที่ต้องการมากที่สุดในปี 2020

เพื่อทดสอบประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์ เรามีบัญชีพรีเมียม 3 บัญชีบน Hostinger (พร้อมไซต์ทดสอบในศูนย์ข้อมูลสิงคโปร์ เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา โปรดอ่านรีวิวอย่างละเอียดของเราเกี่ยวกับ Hostinger ได้ที่นี่)

สหรัฐอเมริกา (ตก)สหรัฐอเมริกา (ออก)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
69 มิลลิวินาที
28 มิลลิวินาที
98 มิลลิวินาที
239 มิลลิวินาที
130 มิลลิวินาที
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
331 มิลลิวินาที
233 มิลลิวินาที
165 มิลลิวินาที
38 มิลลิวินาที
100 มิลลิวินาที

ความเร็วเฉลี่ย: 136 มิลลิวินาที (ศูนย์ข้อมูลสหรัฐอเมริกา) – ดูผลลัพธ์แบบเต็ม

Hostinger ได้คะแนนระดับ A+ ซึ่งเป็นเกรดสูงสุด! และเนื่องจากพวกเขามีเซิร์ฟเวอร์ข้อมูล 7 เซิร์ฟเวอร์ให้คุณโฮสต์ ลูกค้าของคุณสามารถคาดหวังความเร็วที่รวดเร็วอย่างแท้จริงโดยไม่ต้องคำนึงถึงภูมิภาคที่พวกเขาอาศัยอยู่

เจ้าของอีคอมเมิร์ซจะชื่นชอบ Zyro เครื่องมือสร้างเว็บไซต์แบบลากและวางของ Hostinger (ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่เราชื่นชอบสำหรับมือใหม่)

กล่าวสั้นๆคือคุณสามารถคาดหวังความเร็วของเซิร์ฟเวอร์ที่รวดเร็ว ทีมสนับสนุนระดับโลกที่ยอดเยี่ยมและฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซชั้นนำของอุตสาหกรรมในราคาที่ไม่แพง

โดยรวมแล้วมันเป็นโฮสติ้งที่มีความสมดุลเป็นอย่างดี

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ Hostinger

  • ราคาช่วงแนะนำที่ต่ำที่สุดคือราคาสำหรับ 48 เดือน แต่ราคาสำหรับ 12 เดือนของพวกเขาก็สมเหตุสมผลเช่นเดียวกัน
  • ไม่มีการช่วยเหลือดูแลทางโทรศัพท์ ค่ายนี้มีเพียงระบบรับคำร้องตามคิว

แพ็กเกจของ Hostinger

แผนโฮสต์ VPS ของพวกเขาเริ่มต้นที่ 120 บาท/เดือน เราขอแนะนำ VPS 2 ซึ่งเริ่มต้นที่ 270 บาท/เดือน

Hostinger vps pricing thailand
(กลับไปด้านบน)
siteground web hosting

ต้องยอมรับเลยว่า SiteGround เป็นหนึ่งในโฮสต์ที่เราชอบมากที่สุด

ค่ายนี้ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2004 และคว้ารางวัลมากมายหลายสาขา รางวัลที่โดดเด่นมาก ที่สุดคือ รางวัลที่ได้รับจาก WordPress เองเลยทีเดียว !

แม้ว่ามันจะเป็นเรื่องยากที่จะตัดสินใจว่าจะพูดถึงจุดขายที่ไม่เหมือนใครที่ยอดเยี่ยมจุดไหน แต่เรารู้สึกว่าจุดแข็งที่แข็งแกร่งที่สุดของ SiteGround ก็คือพวกเขามีโฮสติ้งระดับพรีเมียมที่สมบูรณ์แบบสำหรับเว็บไซต์ธุรกิจที่กำลังเติบโต

เพื่อที่จะทดสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์ของ SiteGround (ซึ่งทำงานในดิสก์เสริมความเร็ว SSD) เราได้สร้างเว็บไซต์ทดลองขึ้นมาเพื่อทดสอบกับแพ็กเกจ GrowBig ของ SiteGround โดยทดสอบผ่านเครื่องมือตรวจสอบความเร็วที่เชื่อถือได้ของ Bitcatcha

ผลลัพธ์: ความเร็วระดับ A+ ซึ่งมาพร้อมเวลาเฉลี่ยในการตอบสนองอันน่าทึ่งที่ 138.1 มิลลิวินาที!

สหรัฐอเมริกา (ตก)สหรัฐอเมริกา (ออก)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
55 มิลลิวินาที
3 มิลลิวินาที
92 มิลลิวินาที
223 มิลลิวินาที
139 มิลลิวินาที
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
380 มิลลิวินาที
226 มิลลิวินาที
148 มิลลิวินาที
12 มิลลิวินาที
103 มิลลิวินาที

ความเร็วเฉลี่ย: 138.1 มิลลิวินาที – ดูผลลัพธ์แบบเต็ม

ในทางปฏิบัติ เวลาการโหลดจะเร็วขึ้นไปอีกด้วยการเปิดใช้งาน Cloudflare CDN และโปรแกรม ระดับพรีเมี่ยมชื่อ SuperCacher ของ SiteGround (ซึ่งวิศวกรของทางโฮสต์เป็นผู้สร้างขึ้นมาและว่ากันว่ามันช่วยเพิ่มความเร็วการโหลดได้ถึง 4 เท่า)

ผู้ใช้แพ็กเกจ GrowBig ยังได้รับการช่วยเหลือดูแลระดับพรีเมี่ยมก่อนคนอื่นผ่านการแชทและระบบบัตรคิว เราประทับใจไม่เคยขาดกับความรวดเร็วของฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าที่ติดต่อได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันทั้งทางโทรศัพท์ แชต และระบบบัตรคิว

ยิ่งไปกว่านั้น SiteGround การรับรองช่วงเวลาให้บริการที่ 99.9% และไซต์ทดสอบของเราแนะนำว่ามันทำได้จริง

ฉะนั้น ด้วยพลังของ SiteGround รับรองได้เลยว่าเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณจะเร็วดั่งใจ สบายใจได้เลยว่าคุณฝากเว็บไว้ถูกที่แล้ว

เราว่า SiteGround เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับไซต์ที่มีงบประมาณที่มากขึ้นเล็กน้อย หรือต้องการฟีเจอร์ระดับพรีเมียมมากกว่านี้ พวกเขาเป็นโฮสต์ที่ยอดเยี่ยม และถ้าคุณสามารถจ่ายเงินเพื่อ SiteGround ได้ คุณจะไม่ผิดพลาดที่เลือกใช้มันจริงๆ

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ SiteGround

  • ต้องจ่ายเพิ่มสำหรับการลงทะเบียนโดเมน
  • ราคาค่าต่ออายุของ SiteGround อาจจะทำให้อึ้งได้เลย !

แพ็กเกจของ SiteGround

เราแนะนำแพ็กเกจ GrowBig ซึ่งเป็นแพ็กเกจโฮสติ้งแบบแชร์ และหลังจากนั้นค่อยขยับขยายไปตามที่จำเป็น

SiteGround shared host pricing
(กลับไปด้านบน)
kinsta web hosting

ต่อไปมาพบกับ Kinsta โฮสต์ที่รองรับ WordPress ที่มาพร้อมกับทีมดูแลด้านเทคนิคและอยู่รับใช้ลูกค้ามาตั้งแต่ปี 2013

อย่างแรกที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับค่ายนี้ก็คือ Kinsta ดำเนินการบน Google Cloud

จุดนี้ทำให้ Kinsta เหนือกว่าคู่แข่งอย่างน่าสนใจและมีผลให้ Kinsta ขึ้นมาอยู่เกือบอันดับแรกของรายการแนะนำโฮสติ้งในดวงใจของเรา

และที่เยี่ยมขึ้นไปอีกคือ Kinstar ก็เอาฟีเจอร์ใน Premium Tier ของ Google Cloud มาใช้ด้วย ส่งผลให้ผู้ใช้ได้อานิสงส์จากประสิทธิภาพ ความเร็วและความปลอดภัยในระดับสูงสุดของค่ายที่เป็น ผู้นำตลาดโฮสติ้งระบบคลาวด์อยู่แล้ว นอกจากนี้ ลูกค้ายังมีศูนย์ข้อมูลถึง 20 แห่งทั่วโลกให้เลือกอ่ีกต่างหาก !

ดังนั้น เราจึงไม่แปลกใจเลยที่ค่ายนี้มีความเร็ว สูงเกินคำบรรยาย

เราได้ใช้เว็บทดลองในการทดสอบโดยใช้เครื่องตรวจสอบความเร็วของเราด้วย ระดับคะแนนที่ได้คือ A โดยเวลาตอบสนองเฉลี่ยอยู่ที่ 196 มิลลิวินาที (คุณสามารถอ่านรีวิว Kinsta ฉบับเต็มได้ที่นี่) น่านับถือจริง ๆ !

สหรัฐอเมริกา (ตก)สหรัฐอเมริกา (ออก)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
130 มิลลิวินาที
95 มิลลิวินาที
10 มิลลิวินาที
287 มิลลิวินาที
203 มิลลิวินาที
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
487 มิลลิวินาที
266 มิลลิวินาที
221 มิลลิวินาที
83 มิลลิวินาที
13 มิลลิวินาที

ความเร็วเฉลี่ย: 179.5 มิลลิวินาที – ดูผลลัพธ์แบบเต็ม

และนั่นก็คือผลลัพธ์ก่อนที่จะใช้งาน KinstaCDN อันสุดล้ำเกินจะบรรยายอีกด้วย (เป็นความร่วมมือกับ KeyCDN อีกแบรนด์ชั้นนำวงการ)

ด้วยโครงสร้างระบบคลาวด์เดียวกันนี้ทำให้เทคโนโลยีของ Kinsta ที่รับประกันว่าระบบไม่มีวันล่มได้ขึ้นมายืนเด่นในวงการ

หากจำนวนผู้เข้าชมเว็บพุ่งขึ้นมาจะเป็นอะไรหรือไม่ คำตอบคือ ไม่มีปัญหา หากคุณใช้บริการของ Kinsta เว็บไซต์ของคุณจะขยายไปใช้ CPU ได้ในจำนวนมากตามที่จำเป็น เว็บไซต์ของคุณจะสามารถดำเนินไปได้อย่างไม่หยุดหย่อน และคุณเพียงแค่ต้องชำระค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกินมาเท่านั้นเอง

เมื่อเปรียบเทียบกันดูจะเห็นว่า หากคุณใช้บริการโฮสติ้งแบบเชร์หรือแบบ VPS เว็บไซต์ของคุณอาจจะล่มได้ถ้าจำนวนผู้เข้าชมเว็บพุ่งขึ้นอย่างฉับพลัน ไม่แปลกใจเลยที่ Kinsta ก็มี การรับประกันช่วงเวลาให้บริการแบบปร้บเปลี่ยนได้ที่ 99.9%

โครงสร้าง Google Cloud ของค่ายนี้ยังเป็นตัวทำให้ Kinsta สามารถขยายตามการเติบโตของลูกค้าได้อย่างไร้กังวล หากคุณต้องการใช้แบนด์วิดธ์เพิ่ม คุณก็สามารถอัปเกรดแพ็กเกจได้ง่าย ๆ ไม่มีอะไรติดขัด ไม่ต้องโยกย้ายไฟล์ไปยังอีกเซิร์ฟเวอร์หนึ่งหรืออีกโฮสต์หนึ่งให้ยุ่งยาก แค่ชำระค่าบริการสำหรับแพ็กเกจที่สูงขึ้นเท่านั้น

เมื่อพิจารณาจากความเร็วและข้อได้เปรียบด้านการขยายตัวรองรับการเติบโต เราคิดว่า Kinsta เป็นตัวเลือกที่เหมาะเจาะสำหรับกิจการขนาดใหญ่หรือที่กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งไม่ต้องการให้ธุรกิจหยุดนิ่งแม้เพียงวินาทีเดียว

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ Kinsta

  • มีราคาแพงกว่าคู่แข่งค่ายอื่น ๆ เยอะมาก
  • ไม่รวมการลงทะเบียนอีเมล หรือโดเมน
  • ไม่มีฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าทางโทรศัพท์
  • เนื่องจาก Kinsta เป็นโฮสต์สำหรับ WordPress แบบที่ไม่ต้องดูแลด้านเทคนิคเอง ฉะนั้น คุณจะใช้ปลั๊กอิน WordPress สำหรับอีคอมเมิร์ซได้เท่านั้น เช่น WooCommerce

แพ็กเกจของ Kinsta

แพ็กเกจบริการของ Kinsta เริ่มต้นจากราคา 930 บาทต่อเดือนสำหรับแพ็กเกจ Starter และราคาจะเพิ่มขึ้นตามระดับการให้บริการ

Kinsta Pricing Plan
(กลับไปด้านบน)
a2 hosting managed wordpress hosting

A2 เป็นเว็บโฮสต์ที่ไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก แต่กลับมีสิ่งดี ๆ ที่น่าตื่นตาตื่นใจไว้มอบให้กับลูกค้า

ยิ่งเราได้อ่านดูรายการฟีเจอร์ที่ค่ายนี้มีให้อย่างยาวเหยียด เรายิ่งแน่ใจว่ามันสมควรอยู่ในรายชื่อโฮสต์แนะนำของเราจริง ๆ

จากที่กวาดตาดูแพ็กเกจบริการทั้งหมดของ A2 แพ็กเกจ Turbo เตะตาเรากว่าเพื่อนเนื่องจากมีพลังความเร็วสุดยอดในทุก ๆ ด้าน

แพ็กเกจนี้ใช้เซิร์ฟเวอร์เว็บโฮสติ้ง Turbo ที่ว่ากันว่าจะช่วยโหลดเว็บไซต์ได้เร็วกว่าเซิร์ฟเวอร์มาตรฐานทั่วไปถึง 20 เท่า เมื่อเราทำการทดสอบ เว็บไซต์ทดลองของเราที่ใช้บริการแพ็กเกจ Turbo ของ A2 ก็สามารถทำคะแนนความเร็วได้ที่ระดับ A+ จริง ๆ โดยมีเวลาการตอบสนองเฉลี่ยอยู่ที่ 169.5 มิลวินาที

ก็เร็วอยู่นะ แต่ต้องยอมรับว่ายังไม่ใช่โฮสต์ที่เร็วที่สุดในบรรดาโฮสต์ที่เราเคยทดสอบมา (อ่านดูรายละเอียดเน้น ๆ ในรีวิวฉบับเต็มที่นี่)

สหรัฐอเมริกา (ตก)สหรัฐอเมริกา (ออก)ลอนดอนสิงคโปร์เซาเปาลู
63 มิลลิวินาที
10 มิลลิวินาที
129 มิลลิวินาที
234 มิลลิวินาที
145 มิลลิวินาที
บังคาลอร์ซิดนีย์ญี่ปุ่นแคนาดาเยอรมนี
433 มิลลิวินาที
214 มิลลิวินาที
147 มิลลิวินาที
13 มิลลิวินาที
110 มิลลิวินาที

ความเร็วเฉลี่ย: 149.8 มิลลิวินาที – ดูผลลัพธ์แบบเต็ม

แต่จะว่าไป A2 จะมีอะไรให้ เยอะมาก ในแแพ็กเกจ Turbo

เริ่มต้นที่การมีแคชชิ่ง 3 แบบให้เลือก และคุณยังจะได้ใช้โปรแกรม Hackscan (การรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจรที่ดีมาก) หรือจะเป็นแอปอีคอมเมิร์ซ A2 Optimized ซึ่งหมายความว่าได้ผ่านการปรับแต่งค่าเพื่อให้คุณสามารถโหลดได้รวดเร็วขึ้นและปลอดภัยขึ้นไปอีก

เอาหละ สำหรับ A2 แล้ว สิ่งที่โดนใจมากที่สุดก็คือรายการข้อเสนอแบบ ‘ไม่อั้น’ ที่มาพร้อมป้ายราคาที่ถูกชนิดอดใจไม่ไหว

เรากำลังพูดถึง ที่อยู่อีเมล เว็บไซต์ ฐานข้อมูลรวม พื้นที่จัดเก็บข้อมูล และการถ่ายโอนข้อมูล ซึ่งมาแบบ ไม่อั้น ทั้งนั้น รวมไปถึงโดเมนย่อย โดเมนชั่วคราวและโดเมนเสริมแบบไม่จำกัดอีกด้วย คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายค่า SSL เพราะทางโฮสต์รวมตัวเลือก Let’s Encrypt SSL แบบใช้ฟรีไว้ให้คุณแล้ว

ให้กันแบบไม่อั้นจริง ๆ เรียกว่าคุณมีพื้นที่เหลือเฟือสำหรับรองรับการเติบโต

ทั้งหมดนี้มาในราคาที่ย่อมเยาว์ จึงทำให้ A2 เป็นโซลูชันที่เปี่ยมไปด้วยฟีเจอร์ดี ๆ สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซขนาดเล็กและขนาดกลาง

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ A2 Hosting

  • สิ่งต่าง ๆ ที่ให้แบบ ‘ไม่จำกัด’ ล้วนมีข้อแม้ทั้งสิ้น ซึี่งหมายถึงไม่ได้ให้แบบ ‘ไม่จำกัด’ เสมอไป ในความเป็นจริง ทรัพยากรในสภาพแวดล้อมของเว็บโฮสติ้งแบบแชร์จะเหมือนถูกแบ่งออกเป็นส่วน ๆ เพื่อให้มั่นใจว่า แต่ละเว็บไซต์จะไม่ใช้ทรัพยากรมากเกินกว่าที่ตัวเองมีสิทธิ์เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเว็บไซต์อื่น หากเว็บไซต์ของคุณเริ่มใช้งานทรัพยากรมากเกินกว่าที่โฮสต์ตั้งไว้ ทางโฮสต์อาจจะออกข้อจำกัดบางอย่างซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพของเว็บไซต์คุณ

  • ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าอาจล่าช้า ที่ผ่านมา เราเคยต้องรอประมาณ 5-40 นาทีเพื่อเชื่อมต่อกับการแชตสด เราได้อ่านรีวิวของคนอื่น ๆ ที่พูดถึงความล่าช้าทำนองนี้ด้วย หรือไม่ก็พูดถึงว่าต้องพยายามเชื่อมต่ออยู่หลายครั้งกว่าจะสำเร็จ

แพ็กเกจของ A2 Hosting

แพ็กเกจสำหรับลูกค้าใหม่ในการใช้บริการโฮสติ้งแบบแชร์มีให้เลือกหลายแบบ สำหร้ับแพ็กเกจ Lite เริ่มต้นที่ 247.69 บาทต่อเดือน

A2 Hosting Plan

ค่ายนี้ยังมีบริการโฮสติ้งแบบ VPS ให้อีกด้วย (ทั้งแบบที่โฮสต์ให้บริการด้านเทคนิคและแบบที่คุณจัดการเอง) โฮสติ้งแบบเซิร์ฟเวอร์ส่วนตัว (dedicated hosting) และโฮสติ้งแบบเช่าช่วง (reseller hosting)

(กลับไปด้านบน)
cloudways web hosting

Cloudways เป็นโฮสต์ที่ค่อนข้างไม่ธรรมดา

Cloudways มีความแตกต่างจากโฮสต์มาตรฐานทั่วไป ค่ายนี้เป็นเหมือนจุดศูนย์รวมของบริการระบบคลาวด์ต่าง ๆ เสียมากกว่า โดยมีการควบคุมและบริหารจัดการจากศูนย์กลาง ทางโฮสต์จะช่วยคุณติดตั้งเซิร์ฟเวอร์เสมือนในระบบคลาวด์ที่เหมาะกับความต้องการและสไตล์การใช้งานของคุณ

แท็กไลน์ของค่ายนี้เตะตาเราทันทีที่เห็น ‘เติบโตได้ไม่มีขีดจำกัดโดยไร้ซึ่งข้อจำกัดใด ๆ’ ยิ่งเราเจาะลึกเข้าไปเท่าไหร่ เราก็ยิ่งรู้ได้ว่าค่ายนี้ไม่ได้มาเล่น ๆ!

สิ่งที่เราชอบมากเกี่ยวกับ Cloudways ก็คือระดับที่โฮสต์ให้คุณสามารถทำทุกอย่างได้ในแบบของคุณเอง ไม่เพียงแต่เป็นโซลูชันโฮสติ้งที่ทรงพลังเท่านั้น Cloudways ยังรับประกันว่าคุณจะได้ทั้งความยืดหยุ่นและการควบคุมไปพร้อม ๆ กัน เรากำลังพูดถึง การกำหนดค่าตามต้องการ ในระดับที่สูงขึ้นไปอีกขั้นนั่นเอง

คุณจะต้องเริ่มด้วยการเลือกผู้ให้บริการคลาวด์ชั้นนำระดับโลกเสียก่อน เช่น AWS และ Google Cloud แค่นี้คุณก็จะได้ศูนย์ข้อมูลกว่า 60 ทั่วโลกแห่งให้เลือกแล้ว

หลังจากที่เลือกผู้ให้บริการได้แล้ว คุณสามารถกำหนดค่าต่าง ๆ บนเซิร์ฟเวอร์ ใช้แอปพลิเคชัน และอัปเกรดแพ็กเกจได้ตามที่เหมาะกับตัวคุณ

หากคุณคิดว่าต้องการทรัพยากรเพิ่ม CloudWays จะให้คุณขยายพื้นที่เซิร์ฟเวอร์ได้ง่ายดายเพียงไม่กี่คลิก โดยไม่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของร้านค้าออนไลน์ของคุณหรือค่าที่คุณกำหนดไว้ก่อนหน้านั้นเลย ภายในคลิกเดียว คุณจะสามารถขยาย RAM การประมวลผล และแบนด์วิดธ์ได้ จะหาแบบไร้ที่ติมากไปกว่านี้คงไม่มีอีกแล้ว!

ทั้งหมดนี้มาในรูปแบบของใช้เท่าไหร่ จ่ายเท่านั้น ซึ่งเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่มีความยืดหยุ่นสูงมากหากคุณไม่ต้องการใช้โฮสต์แบบทั่วไปซึ่งต้องเซ็นสัญญาผูกมัด

เราพูดได้เต็มปากเลยว่า CloudWays คือคำตอบของผู้ประกอบการที่เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี และอยากจะควบคุมอะไรด้วยตัวเองในระดับที่ล้ำหน้าไปอีกขั้น

อย่างไรก็ตาม สำหรับเจ้าของกิจการอีคอมเมิร์ซที่เพิ่งจะเริ่มทำธุรกิจ การมีตัวเลือกมากมายให้กำหนดค่าเองอาจจะทำให้ปวดขมับได้เลยทีเดียว

สิ่งที่เราไม่ชอบเกี่ยวกับ Cloudways

  • ช่วงเวลาการให้บริการ – เราหาดูในเว็บไซต์ของโฮสต์รายนี้แต่ก็ไม่พบการรับประกันช่วงเวลาการให้บริการ และเครื่องมือของเราเองที่ใช้ติดตามดูช่วงเวลาการทำงานระบุว่า ช่วงเวลาให้บริการของโฮสต์นี้อยู่ที่ 99.54% ซึ่งต่ำกว่าผู้ให้บริการรายอื่น ทั้งนี้ Cloudways เองสร้างอยู่บนโครงสร้างของโฮสติ้งระบบคลาวด์รายอื่น ๆ อีกทีหนึ่ง ดังนั้น จึงเข้าไปควบคุมฮาร์ดแวร์ได้อย่างจำกัด
  • ค่อนข้างใช้ความสามารถในเชิงเทคนิค เนื่องจาก Cloudways ให้สิทธิ์ลูกค้าสร้างเซิร์ฟเวอร์และบริหารจัดการเองอย่างเต็มที่ มันจึงเหมาะกับนักพัฒนาเว็บหรือผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคมากกว่า
  • ไม่มีฝ่ายช่วยเหลือดูแลทางโทรศัพท์
  • ไม่รวมอีเมลโฮสติ้ง การลงทะเบียนโดเมน และ CDN
  • ข้อเสนอ ทดลองใช้งานฟรี 3 วัน น่าจะเป็นเวลาที่สั้นเกินไป

แผนให้บริการของ Cloudways

แพ็กเกจบริการของ Cloudways มีความหลากหลายอย่างมาก ในเรื่องของราคา ศักยภาพการใช้งานต่าง ๆ เมื่อเทียบกันระหว่างผู้ให้บริการคลาวด์ทั้ง 5 ราย

แพ็กเกจยอดนิยมของค่ายนี้มีราคาตั้งแต่ 1,032 บาทต่อเดือน (Google Cloud) ไปจนถึง 1,550 บาทต่อเดือน (Linode) แต่ละแพ็กเกจจะให้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลและแบนด์วิดธ์ที่แตกต่างกันไป พร้อมกับมีแพ็กเกจเสริมแบบจ่ายตามจริงให้เลือกอีกด้วย

cloudways pricing plan - google cloud
CloudWays pricing plan - Linode
(กลับไปด้านบน)

เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซต้องโหลดเร็ว

พวกเราชาว Bitcatcha เน้นให้ความสำคัญกับความเร็วของเว็บไซต์มาก ๆ แต่สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ เรื่องนี้ยิ่งสำคัญ สุด ๆ เลยทีเดียว!

ความรวดเร็วในการโหลดสร้างประสบการณ์การใช้งานที่น่าประทับใจมากกว่าให้กับลูกค้าของคุณ ประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UX) ที่ดีกว่า ย่อมหมายถึงลูกค้าที่พึงพอใจมากกว่า

ประสบการณ์ผู้ใช้งาน (UX) ที่ดีกว่ายังช่วยสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์อีกด้วย ลูกค้าที่มีช่วงเวลาที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณมีแนวโน้มที่จะกลับมาใช้งานอีกในอนาคต หรือแนะนำ ธุรกิจของคุณ ให้ผู้อื่นรู้จัก

ผู้เข้าเยี่ยมชมเว็บน้อยคนนักที่จะทนกับเว็บไซต์ที่โหลดช้า ไม่ต้องพูดถึงการเข้าไปค้นหาสินค้าทีละหน้าจนกว่าจะพบสิ่งที่ต้องการจะซื้อ ทุกวันนี้ มาตรฐานความเร็วเรียกว่านับกันทุก ๆ มิลลิวินาที

และอีกอย่างที่สำคัญก็คือ ความเร็วมีผลกระทบต่อ SEO ของเว็บไซต์คุณด้วย

และในโลกของอีคอมเมิร์ซนั้น การได้อยู่ในอันดับต้น ๆ ก่อนคู่แข่งจากการค้นหาใน Google ถือว่าสร้างความแตกต่างได้ในทุกเรื่อง

เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา Google ได้เพิ่ม ‘การอัปเดตเรื่องความเร็ว’ ซึ่งในตอนนี้จะรวมความเร็วในโทรศัพท์มือถือเข้าไปในอัลกอริธึมการจัดอันดับด้วย ยิ่งเว็บไซต์ของคุณโหลดในโทรศัพท์มือถือได้เร็วมากเท่าไหร่ คุณจะได้ขึ้นไปอยู่ในอันดับ SEO ที่ดีมากขึ้นเท่านั้น

ถ้าจะให้สรุปง่าย ๆ ก็คือ เว็บไซต์ที่โหลดช้า หมายถึง การไม่สามารถดึงดูดผู้ชมให้อยู่ในเว็บได้นาน จำนวนคนออกจากหน้ามากขึ้น และอันดับ SEO ที่ต่ำลงมา

เว็บไซต์ที่โหลดเร็ว หมายถึง คนเห็นคุณมากขึ้น ซื้อขายกันไวปานสายฟ้าแลบ รวมถึงเพ่ิ่ม โอกาสที่คนจะมาเป็นลูกค้าได้มากขึ้นด้วย มีแต่เรื่องดี ๆ ให้กับคุณ!

(กลับไปด้านบน)

โฮสต์ต้องเป็นคู่คิดด้านเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่รับฝากเว็บ

ทุกเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซควรได้โฮสต์ที่เป็นมากกว่าแค่ผู้รับฝากเว็บไซต์

ไม่ใช่แค่หาเครื่องเซิร์ฟเวอร์มารองรับเว็บไซต์ของคุณได้ก็พอ แต่สิ่งที่คุณควรมองหาคือคนที่จะช่วยเหลือกันในเรื่องเทคโนโลยีด้วย

ก็เหมือนกับคู่ชีวิตที่ดีนั่นแหละ คุณต้องการใครสักคนที่พึ่งพาได้มาร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน ใช่แล้ว ใครสักคน…

  • ที่พร้อมเคียงข้างคุณเสมอ
    ในช่วงวิกฤติ บ่อยครั้งทีเดียวที่คุณจะหันไปหาคนนอกเข้ามาช่วย คุณจำเป็นต้องรู้ว่าฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าของโฮสต์นั้นพึ่งพาได้ตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันหรือไม่
  • ไว้ใจได้
    แม้แต่ร้านออนไลน์ที่ใหญ่ที่สุดก็ยังอาจจะเจอกับสถานการณ์ที่คนเข้าชมเว็บไซต์มากอย่างคาดไม่ถึงจนระบบรองรับไม่ไหว คุณต้องดูให้ดีว่าคุณมีทรัพยากรมากพอที่จะรอดชีวิตจากวันที่ลูกค้าเยอะที่สุดได้
  • คนที่ให้ความรู้สึกปลอดภัย
    เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซเป็นเป้าหมายอันดับ 1 ของการกระทำจากผู้ประสงค์ร้าย ก็เหมือนกับที่ตัวคุณมีหน้าที่ปกป้องลูกค้า โฮสต์ของคุณก็ควรจะคอยระแวดระวังให้คุณด้วยการสร้างเกราะป้องกันที่แข็งแกร่งและช่วยคุณป้องกันตัวคุณเอง
(กลับไปด้านบน)

อิสระ & พื้นที่ในการเติบโต

ไม่ว่าคุณจะเข้าใจความยุ่งยากซับซ้อนของเทคโนโลยีเซิร์ฟเวอร์หรือไม่ก็ตาม (ซึ่งอาจจะต้องรู้ลึกในเชิงเทคนิคเลยทีเดียว) คุณควรรู้สึกได้อยู่เสมอว่า คุณสามารถควบคุมเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซของคุณเองได้อย่างเต็มที่ในฐานะเจ้าของเว็บ

นั่นหมายความว่า คุณสามารถบริหารจัดการเว็บได้ในแบบที่เหมาะสมกับธุรกิจและระดับความเชี่ยวชาญของคุณ

คุณควรรู้สึกได้ถึงความเป็นอิสระและความเป็นไปได้ที่จะเติบโตต่อไป และเลือกที่จะเปลี่ยนแพ็กเกจหรือผู้ให้บริการได้ทุกเมื่อ

พูดอีกอย่างก็คือ คู่คิดด้านเทคโนโลยีควรจะช่วยให้คุณทำอะไรต่าง ๆ ได้ตามต้องการ

ผู้ประกอบการแต่ละคนอาจจะไม่ได้มีพื้้นความรู้ด้านเทคนิคเสมอไป และโฮสต์ที่ดีจะเข้าใจในส่วนนี้ ตัวอย่างเช่น นำเสนอแผงควบคุมที่ใช้งานง่ายหรือยืดหยุ่นให้คุณสามารถใช้งานซอฟแวร์อีคอมเมิร์ซที่คุณชอบได้

(กลับไปด้านบน)

วิธีที่เราใช้ในการเลือกโฮสต์ที่ดีสำหรับอีคอมเมิร์ซ

วันนี้เราจะใช้หลักใหญ่ ๆ 6 ประการในการเลือกโฮสต์อีคอมเมิร์ซ 5 ค่ายโปรดของเรา

หลักที่ 1 ความเร็วโฮสต์

แน่นอนว่าโฮสต์ที่ดีต้องมีความเร็วที่เป็นเลิศ ข้อนี้ไม่มีการต่อรองใด ๆ ทั้งสิ้น !

โฮสต์ที่ดีจะต้องมีความเร็วทั้งในระบบฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประกอบ สิ่งที่ควรคำนึงว่าต้องมีคือ:

  1. โฮสต์มีศูนย์ข้อมูลที่กระจายไปทั่วทุกทวีปอย่างเหมาะสมหรือไม่
  2. โฮสต์มีบริการเครือข่ายส่งข้อมูลหรือ CDN หรือไม่
  3. โฮสต์มีเทคโนโลยีการใช้แคชในตัวด้วยหรือไม่

เรายังทดสอบโฮสต์ต่าง ๆ ผ่านทาง เครื่องมือตรวจสอบความเร็วเซิร์ฟเวอร์โดย Bitcatcha ที่เชื่อถือได้อีกด้วย

เครื่องมือทดสอบความเร็วจะช่วยเราวัดว่า เซิร์ฟเวอร์มีการตอบสนองต่อคำขอจากทั่วโลกรวดเร็วมากแค่ไหน

เรามีเซิร์ฟเวอร์ทดลอง 10 กว่าแห่งติดตั้งอยู๋ในตำแหน่งที่แตกต่างกันทั่วโลกเพื่อจำลองเป็นผู้คนจากทั่วโลกที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ที่คุณกำลังทดสอบอยู่

หลักที่ 2 ความน่าเชื่อถือ

การแชทสด โทรศัพท์ ระบบบัตรคิว … มักจะเป็นวิธีการที่ ‘ดีที่สุด’ ในการให้ความช่วยเหลือดูแลลูกค้าโดยอิงตามความต้องการของลูกค้า

อย่างไรก็ตาม เรารู้สึกว่าโฮสต์ที่ดีจะต้องไม่เพียงแค่ให้บริการสนับสนุนคุณตลอด 24 ชั่วโมงทุกวันเท่านั้น แต่โฮสต์ที่ดีจะต้องมีทีมที่มีศักยภาพในการช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วด้วยเช่นกัน หากเป็นเช่นนี้ คำถามของคุณจะได้ไม่ต้องถูกส่งต่อไปเป็นทอด ๆ หลายต่อหลายทอด

ทั้งนี้ เราจะใส่เรื่องของช่วงเวลาการทำงานของเครื่องแบบเต็มประสิทธิภาพเข้ามาในหลักข้อนี้ด้วยเช่นกัน โฮสต์ที่ดีจะนำทุกมาตรการออกมาใช้เพื่อลดช่วงเวลาที่เว็บไม่ทำงานลงไป ให้คุณมองหาโฮสต์ที่มีการรับรองเวลาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพอย่างน้อย 99% และโฮสต์ที่มีบุคคลที่สามเขียนรีวิวยืนยันเรื่องนี้ด้วย

หลักที่ 3 ความปลอดภัย

โฮสต์ที่ดีจะมีการรักษาความปลอดภัยที่แข็งแกร่ง และไม่จำกัดอยู่แค่สิ่งต่อไปนี้

  • ใบรับรองความปลอดภัยทางอิเล็กทรอนิกส์บนมาตรฐาน SSL และการบูรณาการ
    SSL ช่วยให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่มีความอ่อนไหวจะถูกนำส่งผ่านเครือข่ายที่ปลอดภัย ให้คุณมองหาโฮสต์ที่มีข้อนี้ให้ในตัวอยู่แล้ว (หรือในราคาที่ไม่แพง) และสามารถบูรณาการ SSL ได้อย่างง่ายดาย
  • การเฝ้าระวังเชิงรุก
    โฮสต์บางค่ายมีระบบเฝ้าติดตามแบบอัตโนมัติเพื่อคอยตรวจจับและแก้ปัญหา
  • การสำรองข้อมูล
    โฮสต์หลายค่ายมีการสำรองข้อมูลให้โดยอัตโนมัติทุกวัน

หลักที่ 4 ซอฟต์แวร์ที่เข้ากันได้

อย่างที่เราเคยได้กล่าวไปก่อนหน้านี้ว่า โฮสต์ส่วนใหญ่มีซอฟต์แวร์และการบูรณการใช้งานซอฟต์แวร์ที่หลากหลายจำนวนมาก

โฮสต์บางค่ายมีฟีเจอร์อีคอมเมิร์ซอยู่แล้ว ถ้าหากคุณชอบใช้งานเครื่องมือของค่ายอื่น เช่น Magento, Prestashop หรือ WooCommerce คุณจะต้องตรวจสอบก่อนว่า โฮสต์สามารถรองรับเครื่องมือเหล่านั้นได้หรือไม่

แม้ว่า “โฮสต์ที่ดีที่สุด” ควรจะต้องมีซอฟต์แวร์อีคอมเมิร์ซครอบคลุมทุกแบบ แต่ในความเป็นจริง มันเป็นไปไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ให้คุณมองหาโฮสต์ที่มีอินเตอร์เฟส cPanel ซึ่งมาพร้อม โปรแกรมช่วยติดตั้ง Softaculous ที่สามารถติดตั้งซอฟต์แวร์ได้ถึง 400 กว่าซอฟต์แวร์ นั่นหมายความว่า คุณจะมีการรองรับที่ค่อนข้างดีเลยทีเดียว หากโฮสต์ไม่มี cPanel ให้ตรวจดูว่ามีโปรแกรมช่วยติดตั้งแบบอื่นหรือไม่ และดูด้วยว่าโฮสต์ให้การสนับสนุนที่ดีมากน้อยเพียงใด

หลักที่ 5 ความสามารถในการรองรับการขยายตัวของธุรกิจ

ธุรกิจทุกอย่างย่อมต้องการที่จะเติบโต ดังนั้น โฮสต์ของคุณจะต้องไม่ฉุดรั้งการเติบโตของคุณ หลักการทั่วไปก็คือ ต้องเริ่มด้วยแพ็กเกจโฮสติ้งแบบธรรมดาก่อน แล้วจึงค่อย ๆ อัปเกรดขึ้นไป เรื่อย ๆ

สำหรับเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซขนาดเล็กและกลาง น่าจะเริ่มจากบริการโฮสติ้งแบบแชร์ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้มากทีเดียวในช่วงที่คุณเพิ่งเริ่มทำธุรกิจ เนื่องจากคุณจะใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกับเว็บไซต์อื่น ๆ บนเซิร์ฟเวอร์เดียวกัน

อย่างไรก็ตาม เมื่อจำนวนผู้ชมของคุณเริ่มเพิ่มมากขึ้น คุณก็คงจะต้องมองหาเซิร์ฟเวอร์เสมือนส่วนบุคคลหรือ VPS ที่ใช้งานสำหรับคุณคนเดียวหรือใช้คลาวด์โซลูชันก็ได้

โฮสต์ที่เจ๋งจะสามารถรองรับการเติบโตของคุณในอนาคตได้

ถามตัวคุณเองก่อนว่า โฮสต์นี้ยอมให้อัปเกรดแพ็กเกจบริการได้ง่ายหรือไม่เพื่อให้มีพื้นที่จัดเก็บข้อมูลและแบนด์วิดธ์เพิ่มขึ้น หากคำตอบคือไม่ คุณก็อาจจะหนีไม่พ้นต้องเปลี่ยนโฮสต์ในภายหลัง แต่มันจะดีกว่ามากถ้าหากโฮสต์ของคุณสามารถขยายโซลูชันไปตามการเติบโตของคุณได้

หลักที่ 6 คุ้มค่าเงิน

โฮสต์ที่ดีจะทำให้เงินที่คุณจ่ายไปไม่เสียเปล่า

ราคามีให้เลือกหลากหลายมากโดยขึ้นอยู่กับโฮสต์และแพ็กเกจบริการที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าคุณเลือกค่ายไหน แพ็กเกจใด คุณก็คงอยากจะให้มันคุ้มค่าเม็ดเงินอยู่แล้ว

โฮสต์บางค่ายมีบริการเสริมต่าง ๆ หลายรายการ คำถามที่ต้องมี :

  • มีอีเมลโฮสติ้งรวมอยู่ในแพ็กเกจด้วยหรือไม่ สำหรับลูกค้าแล้ว ที่อยู่อีเมลที่ตรงกับโดเมนจะดูดีน่าเชื่อถือมากกว่า
  • ฉันจะได้รับฟีเจอร์อะไรบ้าง ฉันจะได้รับการลงทะเบียนโดเมนฟรีหรือไม่ ฉันจะได้รับพื้นที่จัดเก็บข้อมูลหรือแบนด์วิดธ์เพิ่มเติมหรือไม่
  • มีช่วงทดลองใช้งานไหม โฮสต์ส่วนมากให้ทดลองใช้โดยจะคืนเงินให้หลังทดลองใช้ ดังนั้นคุณจึงสามารถทดลองใช้ดูว่า โฮสต์มีความเหมาะสมกับความต้องการหรือไม่โดยไม่เสี่ยงเสียเงินฟรี
(กลับไปด้านบน)

ประโยคเดียวสั้น ๆ
เลือกโฮสติ้งอีคอมเมิร์ซที่ใช่

จริงอยู่ว่า ผู้ให้บริการโฮสติ้งของคุณไม่ได้ปรากฏสู่สายตาลูกค้าของคุณ

แต่ผู้ให้บริการโฮสติ้งมีบทบาทเต็ม ๆ กับประสบการณ์ของลูกค้าคุณ เป็นตัวกำหนดความรู้สึกของลูกค้าที่มีต่อธุรกิจคุณด้วย

ค่ายไหนเป็นโฮสต์อีคอมเมิร์ซที่ดีที่สุดนะหรือ ไม่มีคำตอบที่ถูกต้องที่สุดหรอก เพียงแต่โฮสต์ที่คุณเลือกจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  • มีความเร็วเป็นเลิศ
    ต้องผ่านการทดสอบของ Bitcatcha ด้วยระดับ A+ หรือ A เป็นอย่างน้อย
  • ไว้ใจได้
    ฝ่ายช่วยเหลือดูแลลูกค้าเก่งและพึ่งพาเพื่อช่วยให้คุณดำเนินงานได้อย่างราบรื่น
  • ปลอดภัย
    มีมาตรการรัดกุมในการป้องกันอันตรายจากนักจารกรรมข้อมูลและมัลแวร์
  • ใช้ร่วมกับผลิตภัณฑ์อื่นได้อย่างหลากหลาย
    รองรับซอฟแวร์อีคอมเมิร์ซที่คุณเลือกใช้ได้
  • ปรับเปลี่ยนขนาดได้
    รองรับการเจริญเติบโตของเว็บไซต์คุณได้
  • คุ้มค่าเงิน
    มีความสมดุลระหว่างฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่คุณต้องการใช้กับราคาที่เป็นธรรม

ต่อไปนี้ คุณจะตัดสินใจเลือกโฮสต์ได้โดยพิจารณาจากจุดเด่นของแต่ละค่าย เรามาทบทวนโฮสต์ที่ ดีที่สุด 5 ค่ายด้วยกันอีกครั้ง

ความเร็วทั่วโลกช่วงเวลาให้บริการราคา (บาท/เดือน)
hostinger wplogo
A+
99.9%
155
siteground wplogo
A+
100%
122
kinsta wplogo
A+
100%
930
a2hosting wplogo
A+
99.9%
248
cloudways wplogo
A
100%
465
(กลับไปด้านบน)